TKP HEADLINE

วัดคิรีวิหาร

 

วัดคิรีวิหาร

“วัดท่าเลื่อน” เป็นวัดที่เจ้าอธิการอยู่เจ้าอาวาส ได้ใช้เวลาในการก่อสร้างนาน 27 ปี ต่อมาเมื่อสมัยฝรั่งเศสเข้ามาปกครองเมืองตราด ได้แต่งตั้งเจ้าอาวาสเป็นพระครูรัฐาภิมุกข์และเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดภูเขายวน” เมื่อไทยได้เมืองตราดคืนจากฝรั่งเศสจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดแห่งนี้ใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราชกรมหลวง วชิรญาณวงศ์ ทรงพระทานชื่อให้วัดใหม่เป็น คีรีวิหาร จนถึงปัจจุบัน จากด้านสถาปัตยกรรมที่มีความงดงาม แสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้อาจได้รับการอุปถัมภ์จากชาวจีนที่มาค้าขายแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก (พ่อค้าชาวจีนอพยพทางเรือมาที่เมืองตราดตั้งแต่สมัยอยุธยา บ้างอพยพจากอยุธยา กรุงเทพฯ เวียดนาม บ้างก็มาจากมาเลเซีย สิงคโปร์) ด้วยที่ตั้งของวัดอยู่บนภูเขาทำให้มองเห็นวิวทิวทัศน์ด้านล่างที่เป็นป่าเขาและทะเล มีบรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เป็นสวนป่าขนาดย่อมๆ มีต้นสักปลูกอย่างเป็นระเบียบ ลักษณะเด่นของวัด คือ การก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรมที่มีความงดงาม และมีการผสมผสานศิลปกรรมสมัยใหม่เข้าไว้ด้วย


ลักษณะเด่นของวัด คือ การก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรมที่มีความงดงาม และมีการผสมผสานศิลปกรรมสมัยใหม่เข้าไว้ด้วย ศาสนสถานที่สำคัญภายในบริเวณวัดประกอบด้วย อุโบสถหลังใหญ่ ภายในอุโบสถ ผนังเรียบทาสีนวลๆ พระประธานหันพระพักตรไปทางทิศเหนือ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ยอดฉัตรงดงาม และมองดูสะอาดตา งามสง่าไม่รกเรื้อจนเฝือ เบื้องหน้าปูพรมแดงผืนกำลังดี พุทธศาสนิกชนเข้ามากราบไหว้ได้ทุกวัน ข้างๆอุโบสถ เป็นหอระฆังรูปแปลกตา ความสูงของหอระฆัง 3 ชั้น อ่านเพิ่มเติม


กลุ่มเกษตรกรทำประมงชำราก

กลุ่มเกษตรกรทำประมงชำราก

บ้านปลายนา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เดิมชื่อบ้านเตาถ่าน เพราะมีเตาถ่านขนาดใหญ่ จำนวน 3 เตา ของนายทุนจากกรุงเทพฯ ขอสัมปทานป่าชายเลนนำไม้มาเผาถ่านขาย หมู่บ้านนี้เกิดขึ้นได้ เป็นผลจากสงครามยุทธการบ้านชำราก ชาวบ้านหนีภัยลงมาสร้างบ้านอยู่ชั่วคราว พอสงครามสงบไม่มีใครย้ายกลับ เพราะมีที่ทำมาหากินดี ตัดไม้เผาถ่านขายสร้างรายได้และยังสามารถประกอบอาชีพประมงชายฝั่งได้อีกที่ดินก็ไม่ต้องซื้อหาเพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของ จึงมีประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีจำนวนบ้าน 47 หลังคาเรือน จำนวนประชากร ประมาณ 120 คน อ่านเพิ่มเติม



ประเพณีลอยเรือตะโกชาวชอง บ้านช้างทูน

 

ประเพณีลอยเรือตะโกชาวชอง บ้านช้างทูน

ประเพณีลอยเรือตะโกนับเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ชาวไทยเชื้อสายชองบ้านช้างทูน อ.บ่อไร่ จ.ตราด ซึ่งก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา ชาวชอง ก็จะมาร่วมกันประกอบเรือ ตะโก ที่เป็นพาหนะนำ อาหาร เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ ที่ลูก ๆ หลาน ๆ จะนำส่งไปยังบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

นายสมชาย เปรื่องเวช ผู้นำชุมชนชาวไทยเชื้อสายชอง ในพื้นที่บ้านช้างทูน เล่าให้ฟังถึงประเพณีลอยเรือตะโก ของชาวชอง ในแต่ละปี จะต้องไปลอกเปลือกไม้ตะโก มาทำตัวเรือ โดยจะไม่ใช้วิธีตัดไม้ จะทำการเลือกต้นตะโก ที่มีสีเปลือกค่อนข้างขาว และลอกออกจากลำต้น ซึ่งลำต้นตะโกที่ถูกลอกออกแล้ว จะเกิดขึ้นใหม่ ทุกๆ 3 ปี และนำเปลือกตะโกมาลนไฟ พร้อมที่จะนำมาประกอบเข้ากับไม้ไผ่ ทำโครงให้เป็นตัวยึด หลังจากที่ประกอบเสร็จแล้ว ก็จะนำเรือไปประกอบพิธี ภายในวัดช้างทูน ให้ลูกหลานชาวชองได้นำเอาสิ่งของ เครื่องใช้ อาหาร ที่บรรพบุรุษของแต่ละครอบครัวชอบ ใส่ลองไปในเรือ และนำไปลอย ซึ่งประเพณีนี้ 1 ปี จะมี 1 ครั้ง ในเทศกาลวันออกพรรษา และยังเชื่อกันอีกว่า หลังจากนำเรือไปลอยลงลำน้ำแล้ว ใครที่ทันเก็บอาหารที่ผ่านพิธีแล้ว มารับประทาน จะป้องกันการเป็นไข้หัวลม หรือไข้หวัด และจะเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวชาวบ้านชาวไทยเชื้อสายชองบ้านช้างทูนและประธานกลุ่มนิเวศพิพิธภัณฑ์ชองบ้านช้างทูน พร้อมประชาชนชาวช้างทูนเข้าร่วมพิธีกว่า 500 คน โดยช่วงแรกเป็นการทำบุญ ตักบาตร การทอดผ้าป่าสามัคคี และการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ การแสดงธรรมวันออกพรรษาจากพระภิกษุสงฆ์วัดช้างทูน หลังเสร็จพิธีทางสงฆ์แล้ว ผู้ร่วมทำบุญวันออกพรรษา ร่วมกันนำข้าวปลาอาหารทั้งอาหารหวานคาว น้ำดื่ม ขนมต่างๆ ตลอดจนดอกไม้ ธูปเทียนและผลไม้ต่างๆ ไปใส่

ลงในเรือตะโก โดยนายสมชาย เปรื่องเวช ประธานกลุ่มนิเวศพิพิธภัณฑ์ชองบ้านช้างทูน ทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีทางประเพณีวัฒนธรรมชาวชองเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษเสร็จพิธีแล้ว ผู้ร่วมพิธีนำอาหารคาวหวานที่นำมาเซ่นไหว้ไปรับประทานก่อนจะช่วยกันนำเรือตะโก 2 ลำ ที่นำมาประกอบพิธี ไปลอยลงในคลองช้างทูนให้ไหลล่องไปตามลำน้ำ อ่านเพิ่มเติม

สปา เดอ ชอง “สปาสุ่มไก่ หรือ สปา เดอ ชอง”

 สปา เดอ ชอง

“สปาสุ่มไก่ หรือ สปา เดอ ชอง”


ตำบลช้างทูนเป็นตำบลที่มีชื่อโด่งดัง เรื่อง “สปาสุ่มไก่” แห่งแรกของประเทศไทยที่สามารถจัดการท่องเที่ยวชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและรองรับนักท่องเที่ยวในยุคโควิด-19 ที่เน้นการดูแลสุขภาพจากสมุนไพร “ชองระอา” ซึ่งเป็นสมุนไพรสำหรับแก้คุณไสย อันเป็นความเชื่อชาวชองซำเร และมีฤทธิ์ใช้ในการขยายเส้นเลือดและแก้อาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารชาวชอง” ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองที่มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจมาก ทั้งพิธีกรรม อาหารพื้นถิ่น วิถีชีวิตที่น่าสนใจ รวมถึงจะมีการยกระดับและพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนให้เป็นระบบ อีกด้วย

นิเวศพิพิธภัณฑ์ชอง บ้านช้างทูน หมู่ที่ 1 บ้านคลองขวาง เล่าว่า หมู่ที่ 1 บ้านคลองขวาง และ หมู่ที่ 5 บ้านหนองไม้หอม ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวชองซัมเรมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง“นิเวศพิพิธภัณฑ์ (Eco- Museum)” เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวอนุรักษ์ธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชนชาวชอง มีเส้นทางให้นักท่องเที่ยวเลือกแบบอาหารบุฟเฟ่ต์ คือการอบสมุนไพรสปาสุ่มไก่ การนวดคลายเส้น การนวดประคบ การร่อนพลอยที่คลองแอ่ง บ้านหนองไม้หอม ชมโรงงานกลั่นน้ำมันกฤษณา ที่พลาดไม่ได้ คือ การลิ้มลองอาหารพื้นถิ่นของชาวชอง เช่น แกงไก่กล้วยพระข้าวเหนียวมูน แกงสำรอง แกงกระวาน ไก่ต้มกระวาน วุ้นหมาน้อย โดยเฉพาะแกงไก่กล้วยพระข้าวเหนียวมูนถือว่าเป็นไฮไลต์ต้องมารับประทานที่นี่เท่านั้น อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนท่องเที่ยวบ้านคลองขวาง

 

ชุมชนท่องเที่ยวบ้านคลองขวาง ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

ทำไมต้อง“ช้างทูน”เนื่องจากในสมัยก่อนมีคนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านและในตอนกลางวันชาวบ้านดังกล่าวจะออกจากบ้านไปทำมาหากินในขณะที่ชาวบ้านไม่อยู่ได้มีช้างโขลงหนึ่งออกมาทำลายพืชผลในหมู่บ้านและช้างโขลงนั้น มีช้างพรายตกมันร่วมอยู่ด้วย มันอาละวาดถอนต้นไม้และทำลายบ้านเรือนของราษฎรโดยการยกบ้านขึ้นทั้งหลังและทิ้งลงมาแต่ลักษณะการยกของช้างนั้นจะใช้งวงดุลบ้านขึ้นภาษาท้องถิ่น เรียกว่า “ทูน” ดังนั้นชาวบ้านจึงขนานนามหมู่บ้านแห่งนี้ว่า“บ้านช้างทูนนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปัจจุบันตำบลช้างทูนมีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านคลองขวาง เป็นการท่องเที่ยวแบบนิเวศพิพิธภัณฑ์บ้านช้างทูนนับว่า เป็นต้นแบบของการพัฒนาต้นแบบนิเวศพิพิธภัณฑ์ที่ชุมชนสามารถนำมาใช้เพื่อการกู้วิกฤตสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้ อีกหนึ่งกิจกรรมที่เป็นสร้างชื่อเสียงให้กับตำบลช้างทูน คือ สปาสุ่มไก่หรือ สปา เดอ ชอง เป็นการเรียนรู้คุณประโยชน์ของสมุนไพร ไม้ห้อมนานาชนิดที่ชาวชองรื้อฟื้นมาจากภูมิปัญญาการอยู่ไฟของสตรีชาวชองโบราณ หรือสูตรแม่ลูกดก อ่านเพิ่มเติม

เพชรน้ำหนึ่งแห่งผลิตภัณฑ์จักสานคลุ้ม

 

เพชรน้ำหนึ่งแห่งผลิตภัณฑ์จักสานคลุ้ม

แต่นอกเหนือจากพลอยแดงทับทิมสยามแล้วที่นี่ยังมีของดีอันเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาอย่างช้านานนั่นก็คือผลิตภัณฑจักสานคลุ้มซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชุมชชาวชองและสามารถหชมได้ที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจักสานบ้านคลองโอน หมู่ที่ 4 ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด


วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจักสานบ้านคลองโอน จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 27 หมู่ที่ 7 ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด สถานที่แห่งนี้มิใช่ทางผ่าน ต้องตั้งใจ จึงจะมาถึง อ่านเพิ่มเติม

น้ำตกทับกระได อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

 น้ำตกทับกระได

อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

อำเภอบ่อไร่ เป็นอำเภอเล็กๆอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด น้อยคนนักที่มาจังหวัดตราด แล้วตั้งใจมาเที่ยวที่อำเภอบ่อไร่ ส่วนใหญ่ผู้คนมักเบนเข็มไปเที่ยวอำเภอเกาะช้าง สมัยเรียนเพื่อนๆเคยถามว่าอยู่จังหวัดไหน ตอบไปว่าเป็นคนจังหวัดตราด เพื่อนๆไม่รู้จัก พอบอกว่าจังหวัดที่มีเกาะช้าง รู้จักกันทุกคน เพราะที่นั่นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติชอบมาเยือน

แต่วันนี้เราจะพาทุกๆท่านไปสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอบ่อไร่ อำเภอเล็กๆ ที่น้อยคนนักจะมาเยือน หารู้ไม่ว่าอำเภอแห่งนี้คือศูนย์รวมประวัติศาสตร์อันล้ำค่าของวิถีชีวิตผู้คนในอดีตที่หาชมไม่ได้แล้วในยุคปัจจุบัน นั่นก็คือเมืองอัญมณีแหล่งเรียนรู้อันมีคุณค่าของคนในชุมชนเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมประวัติศาสตร์การทำเหมืองพลอยในอดีต ซึ่งเป็นยุคที่รุ่งเรืองและเฟื่องฟูของชาวบ่อไร่ นอกจากแหล่งเรียนรู้นี้แล้ว เรายังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้วที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ และยังมีน้ำตกเล็กๆอีกมากมายหลายแห่ง แต่วันนี้เราจะพาทุกคนไปเที่ยวที่น้ำตกทับกระได น้ำตกเล็กๆ แต่มีความสวยงาม ไม่แพ้ที่ใดเลย อ่านเพิ่มเติม

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดตราด. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand