TKP Start UP

ประวัติหน่วยงาน

ประเพณีลอยเรือตะโกชาวชอง บ้านช้างทูน

 

ประเพณีลอยเรือตะโกชาวชอง บ้านช้างทูน

ประเพณีลอยเรือตะโกนับเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ชาวไทยเชื้อสายชองบ้านช้างทูน อ.บ่อไร่ จ.ตราด ซึ่งก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา ชาวชอง ก็จะมาร่วมกันประกอบเรือ ตะโก ที่เป็นพาหนะนำ อาหาร เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ ที่ลูก ๆ หลาน ๆ จะนำส่งไปยังบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

นายสมชาย เปรื่องเวช ผู้นำชุมชนชาวไทยเชื้อสายชอง ในพื้นที่บ้านช้างทูน เล่าให้ฟังถึงประเพณีลอยเรือตะโก ของชาวชอง ในแต่ละปี จะต้องไปลอกเปลือกไม้ตะโก มาทำตัวเรือ โดยจะไม่ใช้วิธีตัดไม้ จะทำการเลือกต้นตะโก ที่มีสีเปลือกค่อนข้างขาว และลอกออกจากลำต้น ซึ่งลำต้นตะโกที่ถูกลอกออกแล้ว จะเกิดขึ้นใหม่ ทุกๆ 3 ปี และนำเปลือกตะโกมาลนไฟ พร้อมที่จะนำมาประกอบเข้ากับไม้ไผ่ ทำโครงให้เป็นตัวยึด หลังจากที่ประกอบเสร็จแล้ว ก็จะนำเรือไปประกอบพิธี ภายในวัดช้างทูน ให้ลูกหลานชาวชองได้นำเอาสิ่งของ เครื่องใช้ อาหาร ที่บรรพบุรุษของแต่ละครอบครัวชอบ ใส่ลองไปในเรือ และนำไปลอย ซึ่งประเพณีนี้ 1 ปี จะมี 1 ครั้ง ในเทศกาลวันออกพรรษา และยังเชื่อกันอีกว่า หลังจากนำเรือไปลอยลงลำน้ำแล้ว ใครที่ทันเก็บอาหารที่ผ่านพิธีแล้ว มารับประทาน จะป้องกันการเป็นไข้หัวลม หรือไข้หวัด และจะเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวชาวบ้านชาวไทยเชื้อสายชองบ้านช้างทูนและประธานกลุ่มนิเวศพิพิธภัณฑ์ชองบ้านช้างทูน พร้อมประชาชนชาวช้างทูนเข้าร่วมพิธีกว่า 500 คน โดยช่วงแรกเป็นการทำบุญ ตักบาตร การทอดผ้าป่าสามัคคี และการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ การแสดงธรรมวันออกพรรษาจากพระภิกษุสงฆ์วัดช้างทูน หลังเสร็จพิธีทางสงฆ์แล้ว ผู้ร่วมทำบุญวันออกพรรษา ร่วมกันนำข้าวปลาอาหารทั้งอาหารหวานคาว น้ำดื่ม ขนมต่างๆ ตลอดจนดอกไม้ ธูปเทียนและผลไม้ต่างๆ ไปใส่

ลงในเรือตะโก โดยนายสมชาย เปรื่องเวช ประธานกลุ่มนิเวศพิพิธภัณฑ์ชองบ้านช้างทูน ทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีทางประเพณีวัฒนธรรมชาวชองเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษเสร็จพิธีแล้ว ผู้ร่วมพิธีนำอาหารคาวหวานที่นำมาเซ่นไหว้ไปรับประทานก่อนจะช่วยกันนำเรือตะโก 2 ลำ ที่นำมาประกอบพิธี ไปลอยลงในคลองช้างทูนให้ไหลล่องไปตามลำน้ำ อ่านเพิ่มเติม

No comments:

Post a Comment